เมื่อวันที่ผ่านมา นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ ศบศ. และผู้เกี่ยวข้อง ได้ทำการแถลงผลการประชุม โดยหนึ่งในนั้นก็คือการเห็นชอบในโครงการ เที่ยวไทยวัยเก๋า ที่จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในบรรดาผู้สูงวัย / คนแก่ ที่คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 1 ล้านคนด้วยกัน ซึ่งจะใช้งบประมาณจากงบประมาณเดิมภายใต้โครงการ เราเที่ยวด้วยกัน เป็นวงเงิน 5,000 ล้านบาท
โดยโครงการดังกล่าวนั้นก็รายละเอียดในการดำเนินการดังนี้
ผู้ที่จะทำการเข้าร่วมโครงการนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
เงื่อนไขในการท่องเที่ยวภายใต้สิทธิ์นี้ก็ได้แก่
ต้องเป็นการท่องเที่ยวแบบข้ามจังหวัด และอยู่ภายในวันธรรมดาเท่านั้น (เข้าพักในวันอาทิตย์ – พฤหัสบดี)
ต้องทำการท่องเที่ยวผ่านบริษัทนำเที่ยวเท่านั้น
โปรแกรมในการท่องเที่ยวดังกล่าวจะต้องมีราคาขั้นต่ำอยู่ที่ 12,500 บาท/คน
ระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวนั้นต้องไม่น้อยกว่า 3 วัน 2 คืน
รัฐบาลจะทำการช่วยเหลือ ผ่านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายแบบร่วมจ่ายให้แก่บริษัทนำเที่ยว คิดเป็นสัดส่วน 40% ของราคาและอยู่ในวงเงิน 5,000 บาทต่อคน
สำหรับผู้สูงอายุที่เคยได้ลงทะเบียนในโครงการเราเที่ยวด้วยกันแล้ว ยังสามารถลงทะเบียนภายในโครงการนี้ได้ โดยจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
สำหรับบริษัทที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้จะต้องอยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้
เป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563
ตัวบริษัทดังกล่าวต้องสามารถที่จะรับนักท่องเที่ยวที่ผ่านโครงการนี้ได้ไม่เกิน 3,000 ราย
โครงการนี้จะมีระยะเวลาในการดำเนินการ 3 เดือน โดยจะนับตั้งแต่วันที่ทาง ครม. ได้มีการอนุมัติ
ตามกันต่อ เบี้ยคนพิการ 2564 เงินเข้าวันไหน ได้กี่บาท
ต่อจากในส่วนของเบี้ยผู้สูงอายุนั้น ก็มายัง เบี้ยคนพิการ 2564 ที่มาดูกันว่าเงินช่วยเหลือนั้นจะทำการโอนเข้าเป็นจำนวนเท่าไหร่ และวันไหนบ้าง?
เช่นเดียวกันกับในส่วนของเบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ ก็คือส่วนหนึ่งของมาตรการช่วยเหลือโดยหน่วยงานรัฐจะทำการจ่ายเงินอุดหนุนให้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพแก่ทั้งผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งจะเป็นการจ่ายเงินผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2564 หรือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนกันยายน 2564 นั้น กรมบัญชีกลางได้ออกปฏิทินการทำงาน ในการจ่ายเงินภายในโครงการนี้เป็นที่เรียบร้อย
ตามมติคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบประมาณ ปี 2564 นั้น ในส่วน “เบี้ยความพิการ” ให้เพิ่มเป็น 1,000 บาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 แก่ผู้พิการ 2 กลุ่ม คือ
ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับ 1,000 บาท/เดือน เดิม 800 บาท/เดือน
ผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมี “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะได้รับเบี้ยความพิการเพิ่ม 200 บาท/เดือน
เงื่อนไข : ผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะยังคงได้รับเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือนดังเดิม ไม่ได้เงินเพิ่ม
ปฏิทินการจ่ายเงินเบี้ยผู้พิการนั้น ธนาคารจะโอนเงินให้ผู้มีสิทธิผ่านบัญชีธนาคารที่ระบุไว้ ดังนี้
เดือนธันวาคม 2563 จ่ายเงินวันที่ 9 ธันวาคม 2563
เดือนมกราคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 8 มกราคม 2564
เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
เดือนมีนาคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 มีนาคม 2564
เดือนเมษายน 2564 จ่ายเงินวันที่ 9 เมษายน 2564
เดือนพฤษภาคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
เดือนมิถุนายน 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 มิถุนายน 2564
เดือนกรกฎาคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 9 กรกฎาคม 2564
เดือนสิงหาคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 สิงหาคม 2564
เดือนกันยายน 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 กันยายน 2564
หลังจากที่มีเสียงตอบรับเป็นอย่างดี จึงได้มีการดำเนินโครงการต่อเนื่อง ในโครงการ คนละครึ่ง เฟส 2 โดยทั้งนี้ทาง Tadoo ก็จะมาดูว่ารายละเอียดที่มีการเปิดเผยกันว่าจะมีอะไรบ้าง
โครงการ คนละครึ่ง เฟส 2 นั้นได้เกิดขึ้นเนื่องด้วยมีเสียงตอบเป็นอย่างดี จึงได้มีการเพิ่มระยะเวลาของโครงการขึ้นเป็นในระยะที่2 โดยทางรัฐบาลได้มีการพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย ปัญหาที่ได้เกิดขึ้นในโครงการที่ผ่านมา ซึ่งมาในเฟสที่2 นี้ก็ได้มีการเพิ่มเติม แก้ไข และปรับปรุงตัวโครงการหลายอย่าง เพื่อให้ตอบโจทย์ เข้าถึงประชาชนให้ได้มากที่สุด
ซึ่งโครงการนี้ก็จะเป็นเหมือนกับที่ได้มีการดำเนินการไปก่อนหน้า คือ การที่ภาครัฐช่วยเหลือโดยการออกค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า/บริการที่ร่วมโครงการไป 50% ของราคาที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ผู้ใช้สิทธิ์ดังกล่าวจะถูกจำกัดให้ใช้งานได้ในวงเงิน 150 บาทต่อวันเท่านั้น
โดยเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านเกษตรศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ มาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับข้าวไทยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทย มาแปรรูปให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป